วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การเขียนแบบสำหรับงานวางผังก่อสร้างอาคาร

บทความที่ 1

Drawings for construction layout

การเขียนแบบกำหนดจุดอ้างอิงและบอกระยะงานวางผังก่อสร้างอาคารมีความจำเป็น การก่อสร้างปัจจุบันใช้กล้องวัดมุมกำหนดตำแหน่งหมุดศูนย์กลางของเสา (Grid line) เนื่องจากมีความแม่นยำสูง คลาดเคลื่อนน้อย ลดเวลาการวางหมุด ดังนั้นแบบการวางผังต้องบอกระยะอย่างละเอียดเพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานไม่ต้องคำนวณหาระยะจากแบบอีก เดิมผู้ปฏิบัติงานต้องกำหนดจุดวางหมุดและเส้นอ้างอิง คำนวณระยะของหลักหมุดต่างๆจากแบบทำให้โอกาศผิดพลาดได้ง่าย การเขียนแบบวางผังอาคารโดยละเอียดสามารถช่วยกำหนดระยะที่ต้องใช้จากหมุดอ้างอิงอย่างชัดเจนและตรวจสอบได้ ทำให้ความผิดพลาดในขั้นตอนการหาระยะลดลง อีกทั้งเมื่อมีหมุดใดหมุดหนึ่งศุนย์หายการหาระยะเพื่อซ่อมแซมหลักหมุดจะทำได้ง่ายและสะดวกขึ้นกว่าเดิม


ขั้นตอนที่ 1 เขียนกำหนดตำแหน่งหมุดอ้างอิงติดตั้งถาวรลงในแบบ (กำหนดตำแหน่งที่ง่ายต่อการทำงาน)


ขั้นตอนที่ 2 เขียนกำหนดตำแหน่งเส้นแกนหลักฉากของอาคารโดยกำหนดแกน x และแกน y จากตำแหน่งหมุดอ้างอิงติดตั้งถาวร


ขั้นตอนที่ 3 เขียนกำหนดหลักประจำเสาในแกน x และแกน y พร้อมระบุระยะนับจากจุดอ้างอิงไปหลักเสาที่ละจุดตามแนวแกนนั้นๆ จนครบ


ขั้นตอนที่ 4 เขียนเส้นอ้างอิงไปที่หมุดหลักเสาโดยให้ค่าระยะ และค่ามุมจากแกน X




ขั้นตอนที่ 5 เขียนแบบขยายที่ต้องการแสดงการติดตั้งหมุดอ้างอิง ป้ายหลักเสา การใช้กล้อง เป็นต้น





หมายเหตุ การพัฒนางานเขียนแบบสำหรับการก่อสร้างมีความจำเป็น เมื่อเราต้องการลดความผิดพลาดในการทำงานให้น้อยลง โปรดติดตาม "การเขียนแบบสำหรับงานวางหมุดเสาเข็ม" ในครั้งต่อไปที่ https://knowledge000002.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น